Site icon Greentraderfx ความรู้ FOREX เปิดบัญชี FOREX

Indicator RSI คืออะไร

Indicator RSI คืออะไร

Indicator RSI ( relative strength index) คืออะไร …. เทรดเดอร์มือใหม่คงจะเกิดคำถามขึ้นมาในหัวกันเมื่อได้ยินคนพูดถึงเจ้าอินดิเคเตอร์ตัวนี้ เอาล่ะ.. เรามาดูประวัติคร่าวๆของเจ้า RSI กันก่อนครับ RSI เป็นอินดิเคเตอร์ที่พัฒนาโดย J. Welles Wilder ซึ่ง อินดิเคเตอร์ RSI ตัวนี้ก็มีติดมาให้กับ โปรแกรม MT4 ทุกเครื่องอยู่แล้วนะครับ โดยสูตรการคำนวนของ RSI คือ  

RSI = 100 – 100 /( 1+RS ) ค่า Defualt periods = 14 
โดย RS ( Relative Strength ) = Average Gain / Average Loss

ค่า Average Gain ก็คือ ส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น( ปิดสูงกว่าวันก่อนหน้า) ทุกๆวัน นำมารวมกัน แล้วหารด้วย 14
ค่า Average Loss ก็คือ ส่วนต่างราคาที่ลดลง ( ปิดต่ำกว่าราคาปิดวันก่อนหน้า) ทุกๆวัน นำมารวมกันแล้วหารด้วย 14

รายละเอียดเพิ่มเติมของสูตรท่านสามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ครับ สูตรคำนวณ RSI

สาเหตุที่ค่ามาตรฐานของ RSI เป็น period 14 นั้น เนื่องจากว่าตัวเจ้าของสูตรนั้นมองว่าวงจรการวิ่งของราคาหุ้นสมัยนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 28 วัน โดยการนับวงจรนั้น จะนับจาก Bottom หนึ่ง ไปยังอีก Bottom หนึ่ง  ดังนั้นครึ่งนึงของวงจร (จาก Bottom ไปยัง Top ) ก็จะเป็น 14 วัน   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักวิเคราะห์หุ้น หรือ เซียนหุ้นแต่ละคนก็จะใช้ค่า period ไม่เหมือนกัน เนื่องจากว่าราคาหุ้น หรือ คู่เงินที่เราเทรดแต่ละคู่นั้นย่อมมีวงจรการวิ่งของราคาไม่เท่ากัน การตั้งค่า period จึงไม่เหมือนกันเสมอไป   (หากท่านจะเทรดคู่เงินไหน ท่านก็ลองมองหาวงจรการวิ่งของคู่เงินนั้นๆก่อนแล้วนำไปปรับเปลี่ยนค่า period ของ RSI ให้เหมาะสมกับคู่เงินนั้นๆดูครับ)

ทีนี้เมื่อเราดูจากสูตรของ RSI แล้วเราจะเห็นว่ากรอบการคำนวณนั้นมันมีกรอบอยู่ที่ 100  จึงเป็นสาเหตุที่เราจะเห็นว่าตัวเส้น RSI จะไม่เคยวิ่งขึ้นไปสูงกว่าเส้น Index 100 เลย อินดิเคเตอร์ RSI จึงได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ Indicator ประเภท Oscillators (วัดแรงแกว่งของราคา) ซึ่งจะแตกต่างจาก Indicator Moving Average ที่จะอยู่ในหมวดหมู่ Trend (ช่วยดูแนวโน้มของราคา) ซึ่งจะไม่มีกรอบการวิ่ง สามารถวิ่งได้ตามราคาของกราฟที่คำนวนออกมาแบบไม่มีเพดาน แล้วเจ้า RSI มันใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างล่ะลองมาดูกัน

ประโยชน์ของอินดิเคเตอร์ RSI (relative strength index) คืออะไร

1. RSI สามารถบ่งบอกค่า Momentum ของราคาได้ว่าราคา ณ ตอนนี้ เป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ

ภาพตัวอย่างการบ่งบอกถึง Momentum

2.ใช้ดู Divergence 

ภาพตัวอย่างการเกิด Divergence

3.ใช้ดู Failure Swings


ภาพตัวอย่างการเกิด Failure Swings

4.ใช้ดูความแข็งแรงของเทรนด์

ภาพตัวอย่างการดูความแข็งแรงของเทรนด์

5.ใช้ดู Overbought – Oversold (เหมาะสำหรับการใช้เทรดในช่วง Sideway)

ภาพตัวอย่าง Overbought – Oversold

บทเรียน Forex อื่นๆ

อินดิเคเตอร์ Market Facilitation Index คืออะไร
อินดิเคเตอร์ ATR คืออะไร
อินดิเคเตอร์ Parabolic SAR คืออะไร
เส้น Moving Average คืออะไร
กราฟแท่งเทียน Candlestick คืออะไร
Indicator MACD คืออะไร
Fibonacci (ฟิโบนักซี่) คืออะไร
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร

Exit mobile version