Fibonacci

ประวัติ Fibonacci (ฟีโบนักชี)

ผู้คิดค้น Fibonacci (ฟีโบนักชี) คือ นาย Leonardo Fibonacci (ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี) นักคณิตศาสตร์ที่เมืองปิซ่า ประเทศอิตาลี เกิดในปลายทศวรรษที่ 12 ประมาณปี ค.ศ. 1170 – 1250  เขายังมีชื่ออื่นๆอีกด้วย เช่น เลโอนาร์โด ปีซาโน (Leonardo Pisano) แต่ในปัจจุบัน เทรดเดอร์จะรู้จักเขาในชื่อFibonacci (ฟีโบนักชี) นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคนั้น

Fibonacci

โดยพ่อของ Leonardo Fibonacci มีชื่อว่า กูกลีเอลโม วิลเลียม (Guglielmo William) มีอาชีพเป็นศุลการักษ์ ในสมัยนั้นที่เมืองบูเกีย (Bugia) ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ Leonardo Fibonacci ได้ร่วมเดินทางมาอยู่กับพ่อของเขาด้วยตั้งแต่เด็ก ซึ่งตอนนี้เอง เขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเลขอาราบิก

หลังจากที่ LeonardoFibonacci ได้เรียนรู้เลขอาราบิกแล้ว เขารู้สึกว่าเลขอาราบิกนั้นง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าเลขโรมันเป็นอย่างมาก  Leonardo Fibonacci จึงตัดสินใจออกเดินทางไปคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนกับนักคณิตศาสตร์อีกคน ชาวอาหรับ และได้เดินทางกลับมาในบ้านเกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1200 และ ปี ค.ศ. 1202 ในตอนนั้นเขาอายุได้ 32 ปี ซึ่งเขาได้เผยแพร่สิ่งที่เขาศึกษามาในหนังสือ ลิเบอร์ อะบาชี (Liber Abaci) หรือมีชื่อภาษาไทยว่า คัมภีร์แห่งการคำนวณ

ฟีโบนักชี) โด่งดังเป็นอย่างมากถึงขั้นได้รับเกียรติให้เป็นพระราชอาคันตุกะของจักรพรรดิเฟรดริกที่ 2 (Emperor Frederick II)

ตัวเลขfibonacci เกิดขึ้นจากเลขเพียง 2 ตัว คือ 0 กับ 1 โดยเลขfibonacci ถัดไปคือการเอา เลข 2 ตัวหลังสุดที่อยู่ติดกันบวกกัน

จะได้ 0 + 1 = 1 จะได้อนุกรมใหม่เป็น 0 1 1 
ต่อไปเอา 1 + 1 = 2 จะได้อนุกรมใหม่เป็น 0 1 1 2
ต่อไปเอา 2 + 1 = 3 จะได้อนุกรมใหม่เป็น 0 1 1 2 3 
ต่อไปเอา 3 + 2 = 5 จะได้อนุกรมใหม่เป็น 0 1 1 2 3 5

ซึ่งถ้าบวกกันไปเรื่อยๆจะได้ชุดตัวเลขfibonacci ดังนี้ 0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584, 4181, 6765, 10946

คุณสมบัติของตัวเลข Fibonacci

ตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหน้า หารด้วยตัวเลขFibonacci ที่ข้างอยู่หลัง ค่าที่ออกมาจะใกล้เคียงกับ 0.618 เสมอ เช่น 144/233 = 0.618

ตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหลัง หารด้วยตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหน้า ค่าที่ออกมาจะใกล้เคียงกับ 1.618 เสมอ เช่น 233/144 = 1.618

ตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหน้า หารด้วยตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหลัง 2 อันดับถัดไป ค่าที่ออกมาจะใกล้เคียงกับ 0.382 เสมอ เช่น 89/233 = 0.382

ตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหน้า หารด้วยตัวเลขFibonacci ที่อยู่ข้างหลัง 2 อันดับก่อนหน้า ค่าที่ออกมาจะใกล้เคียงกับ 2.618 เสมอ เช่น 89/34 = 2.618

สัดส่วนที่ออกมา  0.618, 1.618, 0.382 และ 2.618 เป็นสัดส่วนที่พบในธรรมชาติ โดยสัดส่วนที่สำคัญคือ 0.618 และ 1.618 มีชื่อเรียกว่า “สัดส่วนทองคำ”

วิธีใช้Fibonacci Retracement เข้าเทรด

Fibonacci

เครื่องมือFibonacci

วิธีลากFibonacci ในการหาจุดเข้า Sell

Fibonacci

ลากFibonacci จากจุด A ไปหาจุด B แล้วรอให้ราคาย่อตัวขึ้นมาหาFibonacci 61.8% จึงหาจังหวะเข้า Sell เนื่องจากแนวFibonacci 61.8% เป็นจุดที่ราคามักจะมาพักตัวหรือกลัวตัวอยู่บ่อยครั้ง (ในกรณีนี้เราต้องมั่นใจว่าราคาจะลงต่อ)

วิธีลากFibonacci ในการหาจุดเข้า Buy

ฟิโบนัคซี่

ลากFibonacci จากจุด A ไปหาจุด B แล้วรอให้ราคาย่อตัวลงมาหาFibonacci 61.8% จึงหาจังหวะเข้า Buy เนื่องจากแนวFibonacci 61.8% เป็นจุดที่ราคามักจะมาพักตัวหรือกลัวตัวอยู่บ่อยครั้ง (ในกรณีนี้เราต้องมั่นใจว่าราคาจะขึ้นต่อ)

บทเรียน Forex อื่นๆ

อินดิเคเตอร์ Market Facilitation Index คืออะไร
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร
Indicator RSI คืออะไร
เส้น Moving Average คืออะไร
กราฟแท่งเทียน Candlestick คืออะไร
Indicator MACD คืออะไร
อินดิเคเตอร์ ATR คืออะไร
อินดิเคเตอร์ Parabolic SAR คืออะไ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here